มาดูกันว่าเพราะอะไร FBS จึงลดค่าสเปรด GBPCAD และต้องทำอะไรต่อไป!
การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นสิ่งที่ดีอย่างไร?
อัปเดทแล้ว • 2022-08-01
ข่าวร้ายคือเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สองในปี 2022 ซึ่งในทางเทคนิคแล้วถือว่าเข้าสู่ภาวะถดถอย นั่นคือการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สองไตรมาสติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวดีก็คือเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอาจเป็นสิ่งที่สหรัฐฯต้องการเพื่อเอาชนะการต่อสู้กับเงินเฟ้อ
ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯกลับมาฟื้นตัวจากโรคระบาด การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวกลับมาอย่างดุเดือด โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคใช้เงินออมและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาด แต่แรงสนับสนุนที่บ้าคลั่งนี้ได้ผลักดันราคาให้แข็งแกร่งจนอัตราเงินเฟ้อไม่สามารถควบคุมได้ (9.1% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 40 ปี) โดยมีอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง แต่มีอุปทานเพียงเล็กน้อย
การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดมีประโยชน์ต่ออุปสงค์หรือไม่?
การแทรกแซงของเฟดเพื่อนำอัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่เป้าหมายที่ 2% หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปสี่ครั้งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 สองครั้งติดต่อกันที่ปรับไป 75 จุดนั้นได้สะท้อนให้เห็นในระบบเศรษฐกิจในขณะนี้ ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯเชื่อมั่นในเครื่องมือที่ชื่นชอบนั่นคืออัตราดอกเบี้ยเพื่อลดอุปสงค์และเงินเฟ้อด้วยการทำให้การกู้ยืมมีราคาแพงขึ้น แต่ก็เสี่ยงที่เศรษฐกิจจะถดถอย
ดูเหมือนว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกำลังเริ่มแสดงผลลัพธ์ของมัน เศรษฐกิจสหรัฐฯได้หดตัวลง 0.9% ในไตรมาสที่สองติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจโดย การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัวท่ามกลางราคาที่สูงขึ้น การลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง และตลาดที่อยู่อาศัยที่ซบเซา ประธานเฟด นายเจอโรม พาวเวลล์ ได้กล่าวว่า เฟดต้องการเห็นอุปสงค์ลดลงแบบ "ยั่งยืน" เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสลดลงโดยไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง
ขณะที่นายพาวเวลล์คิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ได้อยู่ในภาวะถดถอยในขณะนี้ แต่เขายอมรับว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและ มีแนวโน้มว่าจะต้องชะลอตัวลงมากกว่านี้เพื่อนำเงินเฟ้อกลับมาสู่โลก ธนาคารกลางสหรัฐได้กล่าวว่ามันคงไม่ง่ายที่จะต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี แม้ว่ามันจะหมายถึงเศรษฐกิจที่หดตัวและตลาดงานที่ชะลอตัวก็ตาม
การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯดีอย่างไร?
ยิ่งเศรษฐกิจชะลอตัวเท่าไหร่ แรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อก็จะยิ่งลดลง และราคาก็จะสงบลง ซึ่งมันอาจกระตุ้นให้เฟดผ่อนคลายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบดุดัน แล้วมุ่งไปที่การเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในการประชุมที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่อันตรายก็คือเมื่อเศรษฐกิจหดตัว อุปสงค์อาจลดลงอย่างรุนแรงจนเศรษฐกิจอาจเกิดการถดถอย
การหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดหรือไม่?
เราไม่คิดว่าการลดลงของ GDP จะไม่ส่งผลกระทบต่อรอบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เหตุผลก็คือหลักฐานของการชะลอตัวยังไม่ปรากฏในข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ หรือการเลิกจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ยังใช้เพื่อวัดว่าประเทศใดอยู่ในภาวะถดถอย อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 3.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากช่วงก่อนเกิดโรคระบาด
ข้อมูลตลาดแรงงานที่กำลังจะมาจะเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดที่จะบ่งว่าเราจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ นายเจอโรม พาวเวลล์ ได้ปฏิเสธคำถามที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในหรืออยู่ในภาวะถดถอยหรือไม่ โดยโต้เถียงด้วยเรื่องความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน เนื่องจากบริษัทในสหรัฐฯยังคงจ้างงานเพิ่มมากกว่า 350,000 ตำแหน่งในแต่ละเดือน
คล้ายกัน
อิทธิพลของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกกำลังค่อย ๆ ลดลง เป็นไปได้ไหมที่สกุลเงินยูโรจะเข้ามาแทนที่? เราก็ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก
เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม ธนาคารขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของสหรัฐฯ ล้มอย่างกะทันหัน การล้มละลายในครั้งนี้ถือเป็นการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของธนาคารพาณิชย์ของอเมริกัน ในบทความนี้ เราจะมาดูสิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่อาจเกิดกับเราทุกคนกัน
ข่าวล่าสุด
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่าให้รอเข้าเทรด SELL XAUUSD ที่ระดับ 2,180 ดอลลาร์ โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 2,130 ดอลลาร์ และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY NASDAQ (US500) ที่ระดับ 17,200 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 19,300 จุด และตั้งจุด SL
ก่อนหน้านี้ เรามีการประเมินว่า ให้รอเข้าเทรด BUY S&P 500 (US500) ที่ระดับ 4,850 จุด โดยสามารถตั้งจุด TP ได้ที่บริเวณ 5,200 จุด